Tag |
Data |
---|---|
ชื่อเรื่อง | การพัฒนาคุณภาพบรรจุภัณฑ์ย่อยสลายตามธรรมชาติจากใยบัว |
หัวหน้าโครงการวิจัย | ผศ.ดร.นันท์ชนก นันทะไชย |
ผู้ร่วมวิจัย | ผศ.ดร.อินทิรา ลิจันทร์พร ผศ.ดร. ปาลิดา ตั้งอนุรัตน์ ผศ.ภูรินทร์ อัครกุลธร |
ปีงบประมาณ | 2562 |
วัตถุประสงค์ของการทดลองนี้เพื่อ (1) ศึกษาความเข้มข้นของไคโตซานและแป้งมันสำปะหลัง ที่เหมาะสมต่อการขึ้นรูปกระดาษจากใบบัว (2) ศึกษาอัตราส่วนของไคโตซาน แป้งมันสำปะหลัง และกลีเซอรอล (1:1:0.25, 2:1:0.25, 1:2:0.25, 1:1:0.5, 2:1:0.5 และ 1:2:0.5) ที่เหมาะสมต่อการขึ้นรูปกระดาษจากใบบัว และ (3) ศึกษาอัตราส่วนระหว่างเส้นใยและสารเติมแต่ง (1:1, 2:1, 3:1, 4:1 และ 5:1) ที่เหมาะสมต่อการขึ้นรูปกระดาษจากใบบัว ผลการศึกษาพบว่า ความเข้มข้นของไคโตซาน และแป้งมันสำปะหลัง มีผลต่อความหนาและการดูดซึมน้ำของกระดาษจากใบบัวหลวง โดยกระดาษมีค่าการดูดซึมของน้ำอยู่ระหว่าง 4.87 – 8.37 g/m2 กระดาษใบบัวที่ใช้ไคโตซานและแป้งมันสำปะหลังร้อยละ 1 และ 30 ตามลำดับ เป็นสารเติมแต่ง มีค่าการดูดซึมของน้ำต่ำที่สุด (p £ 0.05) ในขณะที่กระดาษใบบัวที่ใช้ไคโตซานและแป้งมันสำปะหลังร้อยละ 5 และ 20 ตามลำดับ มีค่าการดูดซึมของน้ำสูงที่สุด (p £ 0.05) กระดาษใบบัวหลวงที่ใช้ไคโตซาน แป้งมันสำปะหลัง และกลีเซอรอล ในอัตราส่วนเท่ากับ 1:2:0.25 มีค่าน้ำหนัก ความหนา และการดูดซึมน้ำ เท่ากับ 0.27 กรัม 0.55 มิลลิเมตร และ 7.10 g/m2 ตามลำดับ ซึ่งเป็นค่าสูงที่สุด (p £ 0.05) กระดาษใบบัวหลวงที่ใช้ไคโตซาน แป้งมันสำปะหลัง และกลีเซอรอล ในอัตราส่วนเท่ากับ 2:1:0.25 มีค่าการดูดซึมน้ำน้อยที่สุด (p £ 0.05) เท่ากับ 5.15 g/m2 การใช้เส้นใยปริมาณมากทำให้กระดาษมีน้ำหนัก ความหนา และการดูดซึมน้ำเพิ่มขึ้น กระดาษใบบัวที่ใช้เส้นใยและสารเติมแต่งในอัตราส่วน 1:1 มีค่าน้ำหนัก ความหนา และการดูดซึมน้ำเท่ากับ 0.19 กรัม 0.30 มิลลิเมตร และ 4.75 g/m2 ตามลำดับ การเพิ่มปริมาณเส้นใยไม่มีผลต่อค่า pH ของกระดาษ แต่มีผลต่อค่า L* โดยกระดาษใบบัวที่ใช้เส้นใยและสารเติมแต่งในอัตราส่วน 1:1 และ 2:1 มีค่า L* เท่ากับ 73.52 และ 74.23 ตามลำดับ ซึ่งมีค่าสูงกว่ากระดาษใบบัวที่ใช้เส้นใยและสารเติมแต่งในอัตราส่วน 3:1, 4:1 และ 5:1