Tag |
Data |
---|---|
ชื่อเรื่อง | การพัฒนาเครื่องดื่มสมุนไพรเสริมกลีบดอกบัวหลวง ทดแทนสารให้ความหวานจากหญ้าหวาน |
หัวหน้าโครงการวิจัย | นางสาวอรอุมา คำแดง |
ผู้ร่วมวิจัย | นางสาวรัตนาภรณ์ มะโนกิจ นายเกรียงศักดิ์ สิงห์แก้ว |
ปีงบประมาณ | 2562 |
โครงการวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อสนองพระราชดำริโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ (อพ.สธ.) ศึกษาตำรับมาตรฐาน และกระบวนการผลิต ปริมาณหญ้าหวานคุณค่าทางโภชนาการ ปริมาณสารต้านอนุมูลอิสระ การยอมรับของผู้บริโภค อายุการเก็บรักษา และการถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชนที่เกี่ยวข้องได้ พบว่า สูตรของนิรนาม (2558) เป็นสูตรมาตรฐานที่เหมาะสมสำหรับการทำน้ำฝางเสริมกลีบบัวหลวง เพราะน้ำฝางที่ได้มีสีสวย ใส และสูตรมาตรฐานและกรรมวิธีการผลิตน้ำมะตูมผสมกระเจี๊ยบ สูตรของนิรนาม (2552) เป็นสูตรมาตรฐานที่เหมาะสมสำหรับการทำน้ำมะตูมผสมกระเจี๊ยบเสริมเพราะน้ำมะตูมที่ได้มีสีสวย ใส กลิ่นหอม มีรสชาติและความหวานพอเหมาะ และผู้ทดสอบให้คะแนนความชอบทุกคุณลักษณะมากที่สุด ปริมาณดอกกระเจี๊ยบสดที่เหมาะสมในน้ำมะตูม คือ การใช้ปริมาณดอกกระเจี๊ยบร้อยละ 12.5 และการใช้ปริมาณดอกกระเจี๊ยบแห้งที่เหมาะสมในน้ำมะตูม คือ การใช้ปริมาณดอกกระเจี๊ยบแห้ง 9 กรัม หากเปรียบเทียบการใช้ดอกกระเจี๊ยบแห้งเป็นลักษณะที่เหมาะสมในน้ำมะตูม การใช้ปริมาณกลีบดอกบัวหลวงสด 10 กรัมใช้น้ำตาลทราย 50 กรัม ค่าสีที่วัดได้คือ L* = 20.7 a+** = 8.7 b-***= 2.6 ค่าความหวาน 22%บริกซ์ เป็นปริมาณที่เหมาะสมในการผลิตเครื่องดื่มสมุนไพรฝางเสริมกลีบดอกบัวหลวงสด และการใช้ปริมาณกลีบดอกบัวหลวงอบแห้ง 5 กรัมใช้น้ำตาลทราย 50 กรัม ค่าสีที่วัดได้คือ L* = 22.9 a+** = 6.7 b-***= 3.3 ค่าความหวาน 15%บริกซ์ เป็นปริมาณที่เหมาะสมในการผลิตเครื่องดื่มสมุนไพรฝางเสริมกลีบดอกบัวหลวงอบแห้ง ผู้ทดสอบให้คะแนนความชอบโดยรวมมากที่สุด โดยเครื่องดื่มสมุนไพรฝางเสริมกลีบดอกบัวหลวงอบแห้งที่ได้มีสีสวย ใส กลิ่นหอม ความหวานพอเหมาะ และผู้ทดสอบยอมรับ จึงเป็นตำรับที่เหมาะสมสำหรับเครื่องดื่มสมุนไพรฝางเสริมกลีบดอกบัวหลวงอบแห้ง หากเปรียบเทียบการใช้กลีบดอกบัวหลวงสดและอบแห้งในน้ำฝาง พบว่าการใช้กลีบดอกบัวหลวงแห้งเป็นลักษณะที่เหมาะสมในน้ำฝาง และการใช้ปริมาณกลีบดอกบัวหลวงสด 25 กรัม ค่าสีที่วัดได้คือ L* = 22.9 a+** = 6.7 b-***= 3.3 ค่าความหวาน 10%บริกซ์ เป็นปริมาณที่เหมาะสมในการผลิตเครื่องดื่มสมุนไพรมะตูมผสมดอกกระเจี๊ยบเสริมกลีบดอกบัวหลวงสด ส่วนการใช้ปริมาณกลีบดอกบัวหลวงอบแห้ง 10 กรัม ค่าสีที่วัดได้คือ L* = 22.9 a+** = 6.7 b-***= 3.3 ค่าความหวาน 10%บริกซ์ เป็นปริมาณที่เหมาะสมในการผลิตเครื่องดื่มสมุนไพรมะตูมผสมดอกกระเจี๊ยบเสริมกลีบดอกบัวหลวงอบแห้ง และเปรียบเทียบการใช้กลีบดอกบัวหลวงสดและอบแห้งในน้ำมะตูมผสมกระเจี๊ยบ พบว่า การใช้กลีบดอกบัวหลวงแห้งเป็นลักษณะที่เหมาะสมในน้ำมะตูมผสมกระเจี๊ยบ ส่วนการใช้หญ้าหวานในเครื่องดื่มสมุนไพรฝางเสริมกลีบดอกบัวหลวง พบว่า การใช้สารสกัดหญ้าหวาน 18 กรัม เป็นปริมาณที่เหมาะสมในการผลิตเครื่องดื่มสมุนไพรฝางเสริมกลีบดอกบัวหลวง ด้านคุณค่าทางโภชนาการของเครื่องดื่มสมุนไพรเสริมกลีบดอกบัวหลวง และใช้หญ้าหวานทดแทนน้ำตาลทราย พบว่า การใช้หญ้าหวานในเครื่องดื่มสมุนไพรมีปริมาณพลังงานและคาร์โบไฮเดรตลดน้อยลง และการเสริมกลีบดอกบัวหลวงในเครื่องดื่มสมุนไพรฝางและมะตูมผสมกระเจี๊ยบทำให้มีปริมาณโพลีฟีนอลเพิ่มขึ้น ซึ่งโฟลิฟีนอล ลดระดับ cholesterol และ triglyceride ในเลือดได้ ส่วนสารต้านอนุมูลอิสระของน้ำสมุนไพรเสริมกลีบดอกบัวหลวงจากดอกบัวหลวง พบว่า การรับประทานน้ำกระเจี๊ยบจะให้คะแนนมากที่สุด รองลงมา คือ คือน้ำมะตูมผสมกระเจี๊ยบเสริมดอกบัวหวง ดังนั้น การเสิมกลีบดอกบัวหลวงในน้ำสมุนไพรนั้น ทำให้มีฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระได้ การศึกษาต้นทุนการผลิตเครื่องดื่มสมุนไพรฝางเสริมดอกบัวหลวง และใช้หญ้าหวานทดแทนการใช้น้ำตาลทราย ต้นทุนการผลิตน้ำสมุนไพรฝางเสริมกลีบบัวหลวงและใช้ผลิตภัณฑ์หญ้าหวานทดแทนน้ำตาลในหนึ่งหน่วยบริโภค มีราคา 3.77 บาท หรือประมาณ 4 บาท (200 มิลลิลิตร หรือ 1 ขวด) ส่วนต้นทุนการผลิตน้ำมะตูมผสมกระเจี๊ยบเสริมกลีบบัวหลวง และใช้ผลิตภัณฑ์หญ้าหวานทดแทน น้ำตาลทรายพร้อมบริโภค ในหนึ่งหน่วยบริโภคมีราคา 4.23 บาท หรือ ประมาณ 5 บาท (200 มิลลิลิตร หรือ 1 ขวด) และอายุการเก็บของน้ำสมุนไพรฝางเสริมกลีบบัวหลวงและใช้ผลิตภัณฑ์หญ้าหวานทดแทนน้ำตาลและเครื่องดื่มสมุนไพรมะตูมผสมกระเจี๊ยบเสริมกลีบบัวหลวง ในอุณหภูมิห้อง 3 วัน และในอุณหภูมอตู้เย็น 5 วัน และการถ่ายทอดเทคโนโลยี คือ กลุ่มแม่บ้านขนมไทย คลองสาม ตำบลคลองหลวง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี โดยมีผู้เข้าร่วมรับความรู้จากการถ่ายทอดเทคโนโลยีจำนวน 32 คน ในวันที่ 11-12 มิถุนายน 2562 ณ อบต. คลองสาม อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี จำนวน 32 คน พบว่า ผู้เข้าร่วมรับการถ่ายทอดเทคโนโลยีส่วนใหญ่ 90% เป็นเพศหญิง และมีอายุ 51 ปีขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ 75 รองลงมาอยู่ ในช่วงอายุ 31-50 ปี คิดเป็นร้อยละ 25 มีอาชีพแม่บ้าน คิดเป็นร้อยละ 40.63 รองลงมา คือ รับจ้าง คิดเป็นร้อยละ 21.88 ส่วนธุรกิจส่วนตัว บำเหน็จ/บำนาญ ค้าขายและ พ่อบ้าน คือ ร้อยละ 12.5, 12.5, 9.38 และ 3.13 ตามลำดับ ส่วนวันที่ 12 มิถุนายน 2562 จำนวน 32 คน พบว่า ผู้เข้าร่วมรับการถ่ายทอดเทคโนโลยีส่วนใหญ่ร้อยละ 90 เป็นเพศหญิง และมีอายุ 51 ปีขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ 64 มีอายุอยู่ในช่วง 31-50 ปี คิดเป็น้อยละ 33 มีอาชีพแม่บ้านร้อยละ 40 รองลงมารับราชการร้อยละ 20 ส่วนรับจ้าง ธุรกิจส่วนตัว ค้าขายและบำเหน็จ/บำนาญ ร้อยละ 10 ระดับความพึงพอใจในการถ่ายทอดเทคโนโลยีนั้น พบว่า ประเด็นความคิดเห็น/ความรู้/ความเข้าใจ/การนำไปใช้ทั้ง 2 วัน ผู้เข้าร่วมอบรมมีความพึงพอใจในระดับมาก และมีข้อเสนอแนะเพื่อผู้จัดนำไปปรับปรุงและพัฒนาต่อไป คือ อยากให้ตอนอบรมมีผลไม้เพื่อสุขภาพ อยากให้เพิ่มเครื่องดื่มสุขภาพ อยากให้จัดฝึกอบรมบ่อยๆ อยากฝึกอาชีพที่เกี่ยวกับอาหารหรือการทำอาหาร เพิ่มระยะเวลาในการอบรมมากขึ้น อยากให้บรรยายมากๆ และสถานที่เล็กเกินไป