Tag |
Data |
---|---|
ชื่อเรื่อง | การพัฒนาผลผลิตจากส่วนต่างๆของข้าวปทุมธานี และบัวหลวง เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตชุมชนหมู่บ้านกระแชง อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี |
หัวหน้าโครงการวิจัย | นายณัฐชรัฐ แพกุล |
ผู้ร่วมวิจัย | |
ปีงบประมาณ | 2562 |
ปัจจุบันประเทศไทยมีการใช้โมเดลขับเคลื่อนประเทศไทยสู่ความมั่งคั่ง มั่นคง และยั่งยื่น (Thailand 4.0) จากการเคลื่อนตัวของโลกในศตวรรษที่ 20 มาสู่โลกศตวรรษที่ 21 เป็นการเปลี่ยนโครงสร้างก่อให้เกิดโอกาส ภัยคุกคาม เงื่อนไข และข้อจำกัดชุดใหม่ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีการพัฒนาขีดความสามารถชุดใหม่ที่แตกต่างไปจากเดิมอย่างสิ้นเชิง กระแสที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงในวิถีชีวิตของประชาชนมี 5 กระแสหลัก คือ 1) Giobalization เป็นแรงขับเคลื่อนให้เกิดการไหลของระบบทุน สินค้า และบริการอย่างเสรี 2) Digitization การเจริญเติบโตด้านการติดต่อสื่อสารที่ไม่มีจำกัด 3) Urbanization สัดส่วนของประชากรที่เปลี่ยนแปลงไป ส่งผลให้วิถีชีวิต พฤติกรรม และความสัมพันธ์ของผู้คนจะเปลี่ยนแปลงไปจากสังคมชนบทเป็นสังคมเมือง จึงเกิดประเด็นท้าทายใหม่ที่ครอบคลุมทั้งในมิติพลังงาน การคมนาคม การศึกษา สาธารณสุข สิ่งแวดล้อม ความปลอดภัย เป็นต้น 4) Individualization คนในศวรรษที่ 21 มีความเป็นปัจเจกชนมากขึ้น มีความคิดความอ่านเป็นของตนอง ต้องการแสดงออก จึงส่งผลให้เกิดสังคม 2 รูปแบบ คือ รูปแบบที่ 1 Collective Individuals คือ รูปแบบสร้างสรรค์ ที่ผู้คนอยากอยู่ร่วมกันเพื่อสร้างสรรค์สังคม จึงเกิดชุมชนที่เข้มแข็ง รูปแบบที่ 2 Contra-Individuals เป็นรูปแบบที่ผู้คนต่างคนต่างอยู่ มองแต่ประโยชน์ส่วนตัว สังคมที่มีโอกาสเกิดการทะเลาะวิวาทมากขึ้น และกระแสสุดท้าย คือ Commonization ในโลกที่ยิ่งเชื่อมต่อกันมากขึ้นเท่าไหร่ ผู้คนต้องยิ่งพึ่งพิงอาศัยกันมากขึ้น ความเสี่ยงที่จะเกิดภัยคุกคามในสังคมมากขึ้น จึงส่งผลกระทบต่อระบบโลกโดยรวม จากการมองโลกในปัจจุบันที่เกิดการรวมตัวและแตกตัวของเทคโนโลยีและนวัตกรรม 3 Domains หลัก คือ Bio Domain Physical Domain และDigital Domain จึงเกิดการใช้โมเดลขับเคลื่อนประเทศไทยสู่ความมั่งคั่ง มั่นคง และยั่งยื่น (Thailand 4.0) จากรัฐบาล พลเอกประยุทธ์ จันทรโอชา นายกรัฐมนตรี เล็งเห็นความสำคัญของการขับเคลื่อนภายในประเทศ เช่น การเตรียมคน การพัฒนาคลัสเตอร์เทคโนโลยี และอุตสาหกรรมแห่งอนาคต การเสริมความเข้มแข็งของเศรษฐกิจภายในประเทศ การบูรณาการอาเซียน เชื่อมประเทศสู่ประชาคมโลก การปฏิรูประบบวิจัย การปรับเปลี่ยนกลไกภาครัฐ ระบบการบริหารจากการขับเคลื่อน Thailand 4.0 และที่สำคัญการตอบสอนธุรกิจชุมชน คือ การบ่มเพาะผู้ประกอบการและพัฒนาเครือข่ายวิสาหกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม
คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ได้ตระหนักถึงความสำคัญของภาระงานดังกล่าว และคณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ยังเน้นด้านให้บริการและการวิจัย โครงการบริการวิชาการแก่สังคม อมรมวิชาชีพผู้ประกอบการ เป็นภาระหน้าที่หลักอย่างหนึ่ง การศึกษาวิชาการด้านการให้บริการวิชาการแก่สังคมและชุมชนอย่างสม่ำเสมอเพื่อเป็นการให้ความรู้และเพิ่มทักษะให้กับผู้สนใจด้านการพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ที่ใช้ความรู้และทักษะเกี่ยวกับงานคหกรรมศาสตร์ ซึ่งประกอบด้วย สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม อาหารและโภชนาการ และงานประดิษฐ์สร้างสรรค์ ซึ่งสอดคล้องกับโครงอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.) ในกิจกรรมอนุรักษ์และใช้ประโยชน์พันธุกรรมพืชเป็นกิจกรรมที่ดำเนินการศึกษาประเมินพันธุกรรมพืช และทรัพยากรชีวภาพอื่นๆ ที่สำรวจเก็บรวบรวมและปลูกรักษาไว้ โดยมีการศึกษาประเมินในสภาพธรรมชาติ แปลงทดลอง ในด้านสัณฐานวิทยา ชีววิทยา สรีรวิทยา การปลูกเลี้ยง การเขตกรรม สำหรับในห้องปฏิบัติการมีการศึกษาด้านโภชนาการ องค์ประกอบ รงควัตถุ กลิ่น การใช้ประโยชน์ในด้านอื่นๆ เพื่อศึกษาคุณสมบัติ คุณภาพในแต่ละสายต้นโดยความร่วมมือจาก คณาจารย์นักวิจัย ของมหาวิทยาลัย สถาบันการศึกษา สถาบันวิจัย ศูนย์วิจัยและสถานีทดลองต่างๆ ที่ร่วมสนองพระราชดำริ ดังนั้นคณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ จึงได้จัดทำโครงการอบรมวิชาชีพด้านคหกรรมศาสตร์ตามความต้องการและร้องขอของกลุ่มชุมชนในพื้นที่ของจังหวัดปทุมธานี เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถนำความรู้ไปพัฒนา สร้างงาน เพิ่มรายได้ โดยการประกอบอาชีพที่สุจริต ประชาชนในชุมชนนั้นได้ใช้ชีวิตตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และเพื่อสนองต่อโครงอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.)