Tag |
Data |
---|---|
ชื่อเรื่อง | ผลของอุณหภูมิในการอบแห้งและอัตราส่วนของผงดอกบัวสายต่อคุณภาพของเครื่องดื่มพร้อมบริโภค |
หัวหน้าโครงการวิจัย | ผศ. ดร.อินทิรา ลิจันทร์พร |
ผู้ร่วมวิจัย | ผศ. ดร.นันท์ชนก นันทะไชย ผศ. ดร.ปาลิดา ตั้งอนุรัตน์ ผศ. ภูรินทร์ อัครกุลธร |
ปีงบประมาณ | 2562 |
วัตถุประสงค์ของงานวิจัยเพื่อศึกษาผลของอุณหภูมิอบแห้งและอัตราส่วนของผงดอกบัวสายต่อคุณภาพของเครื่องดื่ม โดยการทดลองที่ 1 ศึกษาผลของอุณหภูมิอบแห้ง (45 55 และ 65 องศา
เซลเซียส) ต่อคุณภาพของดอกบัวสายพบว่าดอกบัวสายอบแห้งที่อุณหภูมิ 45 55 และ 60 องศาเซลเซียส มีความชื้นและปริมาณน้าอิสระเท่ากับร้อยละ 3.92-4.23 และ 0.46-0.58 ค่าสี L*, a*
และ b* ของบัวสายอบแห้งที่อุณหภูมิ 65 องศาเซลเซียส มีค่าสูงกว่าบัวสายอบแห้งที่อุณหภูมิ 45 และ 55 องศาเซลเซียส การอบแห้งบัวสายที่อุณหภูมิ 45 และ 65 องศาเซลเซียส มีปริมาณฟีนอลิกสารต้านอนุมูลอิสระ และปริมาณแอนโธไซยานนส์ สูงกว่าบัวสายอบแห้งที่อุณหภูมิ 55 องศาเซลเซียส อย่างมีนัยส้าคัญทางสถิติ การทดลองที่ 2 ศึกษาอัตราส่วนของบัวสายผงและสมุนไพร ต่อคุณภาพของเครื่องดื่ม ผลจากการทดลองที่ 1 แสดงให้เห็นว่าบัวสายผงอบแห้งที่อุณหภูมิ 45 องศาเซลเซียส มีปริมาณสารต้านอนุมูลอิสระและแอนโธไซยานินส์รวมสูงที่สุด อัตราส่วนของบัวสายผงต่อผงสมุนไพร (ใบเตยหอม หล่อฮั้งก้วย เก็กฮวย กระเจี๊ยบแดง) เท่ากับร้อยละ 50ต่อ50 และบัวสายผงร้อยละ 100 เป็นชุดควบคุมในสูตรเครื่องดื่ม อัตราส่วนของผงดอกบัวสายผสมกับกระเจี๊ยบแดงมีความชื้น ปริมาณน้าอิสระ สารต้านอนุมูลอิสระ และปริมาณแอนโธไซยานินส์รวมสูงที่สุด ในขณะที่คะแนนการยอมรับ รวมทั้งลักษณะปรากฏ สี กลิ่น รสชาติ และความชอบโดยรวมของบัวสายผงผสมดอกกระเจี๊ยบมีคะแนนต่ำสุด อย่างไรก็ตามผลชี้ให้เห็นว่าผงบัวสายผสมเก็กฮวยมีลักษณะปรากฏ สีกลิ่น รสชาติ และความชอบโดยรวมมีคะแนนมากกว่าชุดควบคุม ผงบัวสายผสมใบเตยหอม หล่อฮั้งก้วย และกระเจี๊ยบ ตามล้าดับ ขณะเดียวกันผงบัวสายผสมเก็กฮวยมีปริมาณสารประกอบฟีนอลิกรวมสูงสุด แต่มีปริมาณสารต้านอนุมูลอิสระและแอนโธไซยานินส์รวมต่ำที่สุด