
คุณสมบัติของสารสกัดจากบัวหลวงต่อการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันของมนุษย์
20/10/2022
ผลของอุณหภูมิในการอบแห้งและอัตราส่วนของผงดอกบัวสายต่อคุณภาพของเครื่องดื่มพร้อมบริโภค
20/10/2022
การศึกษาฤทธิ์ทางชีวภาพของสารสกัดบัวสัตตบรรณ เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์สุขภาพและความงาม
บัวสัตตบรรณหรือบัวแดง เป็นบัวพันธุ์พื้นเมืองของไทย ซึ่งใช้เป็นอาหาร การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อค้นหาฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของสารสกัดบัวสัตตบรรณ 5 ส่วน ได้แก่ ราก ก้านใบ ใบ ก้านดอก และดอก ซึ่งสกัดในตัวทำละลาย 3 แบบ คือ เอทานอล เมทานอล และน้ำ การทดสอบฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาพบว่าสารสกัดบัวสัตบรรณทั้ง 3 แบบ ที่ความเข้มข้น 6.25 – 100 μg/ml มีฤทธิ์ในการยับยั้งการสร้างไนตริก ออกไซด์ในเซลล์แมคโครฟาจที่ถูกกระตุ้น ซึ่งสารสกัดเอทานอลส่วนดอกมีฤทธิ์มากที่สุด โดยไม่มีความเป็นพิษต่อเซลล์ ในขณะที่สารสกัดเอทานอลของบัวสัตตบรรณส่วนรากที่ความเข้มข้น 6.25 – 100 μg/ml ยังสามารถกระตุ้นการสร้างไนตริก ออกไซด์ในเซลล์แมคโครฟาจได้ โดยสารสกัดทั้งหมดไม่มีความเป็นพิษต่อเซลล์แมคโครฟาจ และไฟโบรบลาสตร์ นอกจากนั้นสารสกัดเอทานอล เมทานอล และน้ำยังแสดงฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระ DPPH, Nitric oxide, ABTS และการเป็นสารต้านออกซิเดชั่นเมื่อทดสอบโดยวิธี FRAP รวมถึงสารสกัดทั้ง 3 แบบ ทั้ง 5 ส่วน ยังสามารถยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนสได้ และสารสกัดเอทานอลของบัวสัตตบรรณส่วนใบ ยังสามารถยับยั้งเชื้อ Staphylococcus aureus (S. aureus) และ Methicillin-resistant Staphylococcus aureus (MRSA) ได้อีกด้วย ดังนั้นจึงสามารถเลือกผลจากงานวิจัยชิ้นนี้ไปใช้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพและความงามได้ต่อไปTag |
Data |
---|---|
ชื่อเรื่อง | การศึกษาฤทธิ์ทางชีวภาพของสารสกัดบัวสัตตบรรณ เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์สุขภาพและความงาม |
หัวหน้าโครงการวิจัย | นางสาวณกันต์วลัย วิศิฎศรี |
ผู้ร่วมวิจัย | นางสาวสุรัติวดี ทั่งมั่งมี นางสาวมนสิชา ขวัญเอกพันธุ์ |
ปีงบประมาณ | 2562 |
บัวสัตตบรรณหรือบัวแดง เป็นบัวพันธุ์พื้นเมืองของไทย ซึ่งใช้เป็นอาหาร การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อค้นหาฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของสารสกัดบัวสัตตบรรณ 5 ส่วน ได้แก่ ราก ก้านใบ ใบ ก้านดอก และดอก ซึ่งสกัดในตัวทำละลาย 3 แบบ คือ เอทานอล เมทานอล และน้ำ การทดสอบฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาพบว่าสารสกัดบัวสัตบรรณทั้ง 3 แบบ ที่ความเข้มข้น 6.25 – 100 μg/ml มีฤทธิ์ในการยับยั้งการสร้างไนตริก ออกไซด์ในเซลล์แมคโครฟาจที่ถูกกระตุ้น ซึ่งสารสกัดเอทานอลส่วนดอกมีฤทธิ์มากที่สุด โดยไม่มีความเป็นพิษต่อเซลล์ ในขณะที่สารสกัดเอทานอลของบัวสัตตบรรณส่วนรากที่ความเข้มข้น 6.25 – 100 μg/ml ยังสามารถกระตุ้นการสร้างไนตริก ออกไซด์ในเซลล์แมคโครฟาจได้ โดยสารสกัดทั้งหมดไม่มีความเป็นพิษต่อเซลล์แมคโครฟาจ และไฟโบรบลาสตร์ นอกจากนั้นสารสกัดเอทานอล เมทานอล และน้ำยังแสดงฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระ DPPH, Nitric oxide, ABTS และการเป็นสารต้านออกซิเดชั่นเมื่อทดสอบโดยวิธี FRAP รวมถึงสารสกัดทั้ง 3 แบบ ทั้ง 5 ส่วน ยังสามารถยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนสได้ และสารสกัดเอทานอลของบัวสัตตบรรณส่วนใบ ยังสามารถยับยั้งเชื้อ Staphylococcus aureus (S. aureus) และ Methicillin-resistant Staphylococcus aureus (MRSA) ได้อีกด้วย ดังนั้นจึงสามารถเลือกผลจากงานวิจัยชิ้นนี้ไปใช้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพและความงามได้ต่อไป