Tag |
Data |
---|---|
ชื่อเรื่อง | การปรับปรุงพันธุ์บัวอุบลชาติเขตร้อนบานกลางคืนของไทยสายพันธุ์แม่พลอย ด้วยสารยับยั้งการเจริญเติบโตของพืชบางชนิด |
หัวหน้าโครงการวิจัย | นายอิศราพงษ์ แคนทอง |
ผู้ร่วมวิจัย | |
ปีงบประมาณ | 2562 |
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการทำให้เกิดรอยแผลบนผิวเปลือกหุ้มเมล็ด การเตรียมความพร้อมเมล็ด และการใช้ความเย็นกระตุ้นการงอกของเมล็ดบัวสายแม่พลอย (Nymphaea rubra Roxb. cv. ‘Maeploi’) ภายในพิพิธภัณฑ์บัว ฝ่ายภูมิทัศน์ กองอาคารสถานที่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี โดยพบว่าเมล็ดบัวที่ถูกทำให้เกิดรอยแผลและนำมาเพาะเลี้ยงในสภาวะที่มีแสงสว่างสามารถงอกได้ดีกว่าวิธีการเพาะแบบอื่นๆ ถึงร้อยละ 41.67 สำหรับเมล็ดที่ถูกเตรียมความพร้อมด้วยสารละลาย hydropriming (น้ำกลั่นและน้ำกรอง) และสารละลาย osmopriming (น้ำตาลซูโครส น้ำตาลกลูโคส น้ำตาลมอลโตส และน้ำตาลซอร์บิทอล) ที่ความเข้มข้นแตกต่างกัน (ตั้งแต่ 0, 1, 2, 4, 8, 16 และ 32 ร้อยละโดยมวลต่อปริมาตร) หลังการเพาะเมล็ดเป็นเวลา 4 สัปดาห์ เมล็ดบัวที่เตรียมความพร้อมด้วยน้ำกรองมีอัตราการงอกสูงถึงร้อยละ 68.33 และอัตราการมีชีวิตของเมล็ดสูงที่สุดถึงร้อยละ 90 เช่นเดียวกัน ในการกระตุ้นด้วยความเย็น พบว่าเมล็ดที่ไม่ได้ถูกทำให้เกิดรอยแผลและเพาะเลี้ยงโดยไม่ได้กระตุ้นด้วยความเย็นที่อุณหภูมิ 10 °C ในระหว่าง 1 สัปดาห์มีอัตราการงอกสูงที่สุดถึงร้อยละ 78.33 เมื่อเปรียบเทียบกับการกระตุ้นด้วยความเย็นที่อุณหภูมิ 0 °C ซึ่งการเตรียมความพร้อมของเมล็ดอย่างเหมาะสมนี้ถือเป็นองค์ความรู้เบื้องต้นที่มีความจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับการอนุรักษ์นอกสภาพแหล่งธรรมชาติ การขยายพันธุ์และการปรับปรุงพันธุ์ของบัวสายเขตร้อนบานกลางคืนและลูกผสมต่อไปในอนาคต