
การศึกษาฤทธิ์ทางชีวภาพของสารสกัดจากบัวผันเพื่อพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ
19/07/2022
รายการสมุนไพรเข้าเส้น “Herbsteria”
01/09/2022
การพัฒนาก้านบัวหลวงอัดแห้งสำหรับผลิตภัณฑ์งานประดิษฐ์
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ สนองพระราชดำริโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ(อพ.สธ) ศึกษาลักษณะทั่วไปของก้านบัวหลวง ทดสอบสมบัติทางกายภาพของก้านบัวหลวง ออกแบบและประดิษฐ์ผลิตภัณฑ์จากก้านบัวหลวงอัดแห้ง สำรวจความพึงพอใจของผู้บริโภคต่อผลิตภัณฑ์ก้านบัวหลวงอัดแห้ง และถ่ายทอดเทคโนโลยีการประดิษฐ์ผลิตภัณฑ์จากก้านบัวหลวงอัดแห้ง วิธีดำเนินการวิจัย คือ ศึกษาลักษณะทั่วไปของก้านบัวหลวง การพัฒนาก้านบัวหลวงอัดแห้ง โดยนำก้านบัวหลวงมาทำให้เหนียว นุ่ม ด้วยกลีเซอรีน ในอัตราส่วน 1:3 เป็นเวลา 3 วัน และทดลองอัดแผ่นก้านบัวโดยนำก้านบัวหลวงอัดแห้งสับหยาบผสมกับหัวกาวและกาวยูเรียอัลฟอร์มัลดิไฮด์ตามอัตราส่วนที่กำหนดไว้จำนวน 9 สูตร แล้วนำเข้าเครื่องอัดร้อนที่อุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 2 นาที และหล่อเย็น 2 นาที จากนั้นนำแผ่นอัดก้านบัวหลวงออกจากเครื่องทิ้งไว้ที่อุณหภูมิห้องเป็นเวลา 7 วัน นำมาตัดเป็นชิ้นทดสอบความต้านทานแรงดัด การทดสอบความต้านทานแรงดึง และเลือกแผ่นอัดก้านบัวหลวงที่ดีที่สุดนำมาผลิตเป็นผลิตภัณฑ์งานประดิษฐ์ สำรวจความพึงพอใจของผู้บริโภคจำนวน 120 คน ในเขตพื้นที่กรุงเทพฯและปริมณฑล และถ่ายทอดเทคโนโลยีแก่กลุ่มงานประดิษฐ์บ้านพรพิมาน ตำบลรังสิต อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี ผลการวิจัยพบว่า ก้านบัวมีขนาดเฉลี่ย เส้นผ่าศูนย์กลางความกว้างหน้าตัด 1.33 เซนติเมตร ความยาว 90 เซนติเมตร มีค่าความต้านแรงดัด 7.29 เมกกะพาส และค่าความแข็งแรงต่อแรงดึงขาดในสภาวะแห้ง 337.63 นิวตัน มีการยืดตัวขณะแห้ง ยืดตัวขณะขาดเมื่อแห้งคิดเป็นร้อยละ0.87 ทดสอบตามมาตรฐาน ISO 5079 : 1995(E) จากนั้นออกแบบและผลิตเป็นผลิตภัณฑ์จากก้านบัวหลวงอัดแห้ง จำนวน 6 แบบ และผลการสำรวจความพึงพอใจผลิตภัณฑ์จากก้านบัวหลวงอัดแห้ง พบว่า มีความพึงพอใจในด้านรูปทรงสวยงามน่าใช้ สีธรรมชาติของก้านบัวหลวงอัดแห้ง ใช้ประกอบกับวัสดุอื่นได้ (หวาย/ไม้) แข็งแรงสวยงาม ใช้งานได้จริง และสะดวกในการใช้งานอยู่ในระดับมากที่สุด
Tag |
Data |
---|---|
ชื่อเรื่อง | การพัฒนาก้านบัวหลวงอัดแห้งสำหรับผลิตภัณฑ์งานประดิษฐ์ |
หัวหน้าโครงการวิจัย | ดร. สุภา จุฬคุปต์ |
ผู้ร่วมวิจัย | |
ปีงบประมาณ | 2562 |