การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ
สกัดส่วนต่างๆ ของบัวหลวง 10 ส่วนคือ กลีบดอก เกสร เมล็ด ดีบัว รังไข่ ใบอ่อน ใบแก่ ก้านดอก ไหล และราก ด้วยเอทานอล นำสารสกัดมาทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระด้วยวิธี DPPH radical scavenging และปริมาณสารประกอบฟีนอลิกรวม ทดสอบความชอบของผู้บริโภคต่อผลิตภัณฑ์ธัญพืชชนิดแท่งเสริมกลีบบัวหลวงในปริมาณที่ต่างกัน 3 ระดับ คือ ร้อยละ 3, 6 และ 9 ตามลำดับ โดยมีเกณฑ์การให้คะแนนความชอบ 9 ระดับ ดังนี้ สี กลิ่นธัญพืช รสหวาน ความกรอบ และความชอบโดยรวม ใช้ผู้ทดสอบ 100 คน ทำการศึกษาคุณภาพทางด้านกายภาพ เคมี และ จุลชีววิทยาของผลิตภัณฑ์ธัญพืชชนิดแท่งเสริมกลีบบัวหลวง ผลการศึกษาพบว่า 1) สารสกัดจากกลีบดอกบัวหลวงมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระดีที่สุดโดยมีค่า EC50 คือ 12.78±0.44 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร และกลีบดอกมียังปริมาณสารประกอบฟีนอลิกรวมมากที่สุด คือ 143.54±0.78 มิลลิกรัมกรดแกลลิคต่อกรัม 2) ธัญพืชชนิดแท่งเสริมกลีบบัวหลวงร้อยละ 6 ได้รับคะแนนความชอบโดยรวมมากที่สุด คือ (7.66) 3) ผลการตรวจสอบคุณภาพของผลิตภัณฑ์ธัญพืชชนิดแท่ง มีปริมาณนํ้าอิสระ (aw) 0.237 ความชื้นร้อยละ 1.96 ปริมาณจุลินทรีย์ทั้งหมด <3.0 x 102 โคโลนีต่อกรัม ไม่พบการเจริญของยีสต์และรา
https://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&browse_type=title&titleid=421059