การศึกษาผลความเข้มข้นของสารเคมีต่อคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวดอกบัวพันธุ์โคโลราต้า ในครั้งนี้ได้ทำการศึกษาผลของความเข้มข้นของสารละลายกรดซิตริกร่วมกับน้ำตาลซูโครสใน ปริมาณความเข้มข้นที่ต่างกัน โดยใช้ดอกบัวพันธุ์โคโลราต้าที่ปลูกภายในพิพิธภัณฑ์บัว มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ทำการทดลองโดยการปักตลอดลงในน้ำกลั่น สารละลาย กรดซิตริก 200 ppm ร่วมกับน้ำตาลซูโครส 2 เปอร์เซ็นต์ สารละลายกรดซิตริก 300 ppm ร่วมกับ น้ำตาลซูโครส 2 เปอร์เซ็นต์ สารละลายกรดซิตริก 400 ppm ร่วมกับน้ำตาลซูโครส 2 เปอร์เซ็นต์ สารละลายกรดซิตริก 500 ppm ร่วมกับน้ำตาลซูโครส 2 เปอร์เซ็นต์ สารละลายกรดซิตริก 200 ppm ร่วมกับน้ำตาลซูโครส 5 เปอร์เซ็นต์ สารละลายกรดซิตริก 300 ppm ร่วมกับน้ำตาลซูโครส 5 เปอร์เซ็นต์ สารละลายกรดซิตริก 400 ppm ร่วมกับน้ำตาลซูโครส 5 เปอร์เซ็นต์ สารละลายกรดซิ ตริก 500 ppm ร่วมกับน้ำตาลซูโครส 5 เปอร์เซ็นต์ ผลการทดลองพบว่า การใช้น้ำกลั่นสามารถยึด อายุการปักแจกันได้ 4 วัน ซึ่งนานกว่าการใช้สารละลายกรดซิตริกร่วมกับน้ำตาลซูโครสที่มีอายุการ เก็บรักษาเพียง 3 วันนอกจากนี้ความสดและการบานของดอกพบว่าการใช้น้ำกลั่นในการปักแจกัน ทำให้ดอกบัวมีความสดและการบานที่ดีกว่าการใช้สารละลายกรดซิตริกร่วมกับน้ำตาลซูโครส ซึ่ง การใช้สารละลายกรดซิตริกร่วมกับน้ำตาลซูโครสนั้นจะทำให้ดอกบัวพันธุ์โคโลราต้าหมดสภาพ การใช้งานเร็วกว่าการใช้น้ำกลั่นธรรมดา