Tag |
Data |
---|---|
ชื่อเรื่อง | การศึกษาปริมาณสารต้านอนุมูลอิสระและคลอโรฟิลล์ในใบบัวบาที่ปลูกในพื้นที่จังหวัด ปทุมธานีเพื่อต่อยอดสู่การพัฒนาผลิตภัณฑ์ |
หัวหน้าโครงการวิจัย | ดร. ลลิตา ศิริวัฒนานนท์ |
ผู้ร่วมวิจัย | ดร.นวพร ลาภส่งผล |
ปีงบประมาณ | 2562 |
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบปริมาณสารอาหารและสารสำคัญในใบบัวสามสาย พันธุ์ได้แก่ บัวหลวง บัวสาย และบัวบา จากการศึกษาคุณสมบัติทางเคมี และกายภาพ พบว่าใบบัวหลวง มีปริมาณคาร์โบไฮเดรตมากที่สุด รองลงมาคือใบบัวบา และใบบัวสายน้อยที่สุดคือ 40.42, 16.85 และ 12.31 มิลลิกรัม ต่อกรัม(น้ำหนักแห้ง) ตามลำดับ จากการวิเคราะห์สารสำคัญพบว่า ปริมาณคลอโรฟิลล์ ในใบบัวหลวงมีปริมาณมากที่สุด รองลงมาคือใบบัวสาย และใบบัวบาเท่ากับ 0.9749, 0.2905 และ 0.191 มิลลิกรัมต่อกรัม (น้ำหนักแห้ง) ตามลำดับ ปริมาณฟีนอลิกในใบบัวสายมีปริมาณมากที่สุด รองลงมาคือใบบัวบา และใบบัวหลวงเท่ากับ 1248.77, 943.85 และ 232 μg Gallic acid eq./g ตามลำดับ ในส่วนของปริมาณสารต้านอนุมูลอิสระในใบบัวสายมีปริมาณมากที่สุด รองลงมาคือใบบัวบา และใบบัวหลวงเท่ากับ 631.17, 614.71 และ 58.33 μg Trolox eq./g จากการวิเคราะห์สารฟีนอกลิก กับสารต้านอนุมูลอิสระ จะเห็นได้ว่ามีความสัมพันธ์กัน ถ้า
ปริมาณฟีนอลิกมีน้อย สารต้านอนุมูลอิสระก็จะน้อยตาม ถ้าสารฟีนอลิกมีมาก สารต้านอนุมูลอิสระก็จะมีมากด้วย ซึ่งจากผลการทดลองพบว่าใบบัว ต่างสายพันธุ์มีปริมาณสาระสำคัญแตกต่างกัน ซึ่งการนำไปใช้ประโยชน์ควรพิจารณาจากปริมาณ สาระสำคัญต่างๆที่ต้องการ