ชื่อสามัญ : Thanyakan
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Nymphaea sp.
ชื่อไทย : ธัญกาฬ
ถิ่นกําเนิด : ประเทศไทย ผู้ผลิต
ค้นพบ/ปีที่ผลิต : ผศ.ภูรินทร์ อัครกุลธร /2549
ปีที่ผลิต : พ.ศ. 2549 เผยแพร่ : ปี 2550 งานบัวนานาชาติเฉลิมพระเกียรติ์ ณ สวนหลวง ร.๙
ประวัติ : เป็นบัวสายเขตร้อนบานกลางคืน ธัญ มาจาก มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ธัญบุรี กาฬ คือ แดง ดํา (ดอกสีแดงเหลือบม่วง หลังใบมีจุดประสีดํา) เป็นบัวที่มีลักษณะดอก และใบ สีแดงเหลือบม่วงดํา เป็นบัวที่บานในช่วงเวลากลางคืน หรือในที่มืดหลังใบมีจุดประสีดํา รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ประเภทบัวสายเขตร้อนบานกลางคืน
ลักษณะใบอ่อน : ใบรูปไข่ หน้าใบสีน้ําตาลแดงเข้ม หลังใบสี น้ําตาลแดง
ลักษณะใบแก่ : รูปไข่ หน้าในหลังสีน้ําตาลแดงเข้ม ขอบใบจักแหลมปลายใบมน ฐานไป (หูใบ) เปิด, หลังใบ บริเวณขอบหูใบมีจุด ขีดสีดําทั้งสองข้าง
ลักษณะดอกตูม : ทรงดอกค่อนข้างเรียวยาว สีแดง เหลือบเขียว ที่โคนดอก
สีกลีบดอก : แดงเหลือบม่วงบริเวณขอบกลีบทั้งสองข้าง
เกสร : ก้านอับเรณู สีแดง เกสรตัวผู้ สีขาว เกสรเพศเมีย สีแดง
ทรงกลีบดอก : เรียวยาว ทรงดอกบาน : แผ่ครึ่งวงกลม กลีบดอก : ซ้อน
สีกลีบดอก : สีแดงเหลือบม่วงบริเวณขอบกลีบทั้งสองข้าง และ
หลังกลีบดอก : จะมีสีแดงเหลือบม่วงเห็นชัด
กลีบเลี้ยง : ด้านในจะมีสีแดงชมพู ด้านนอก จะมีสีน้ําตาล มีขีดเส้น 5 เส้น
ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง : 12-15 เซนติเมตร
การให้ดอก : ทยอยออกตามกัน บาน 3 วัน
กลิ่น : ไม่หอม
ช่วงบาน : บานกลางวัน
เวลาบาน : เวลา 7.00 น. – 17.00 น.
ลักษณะก้านใบ : สีน้ําตาลแดง ไม่มีขน
ลักษณะก้านดอก : สีน้ําตาลแดง ไม่มีขน
การขยายพันธ์ : หัว หรือไหล