ชื่อสามัญ : Chompoo Celon, Celon Pink
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Nymphaea ‘Chompoo Celon’
ชื่ออื่น : –
ชื่อไทย : ชมพูซีลอน
ชื่อวงศ์ : Nymphaeaceae
ถิ่นกําเนิด : ศรีลังกา , อินเดีย
ผู้ผลิต : เป็นบัวสายพันธุ์พื้นเมือง
ปีที่ผลิต : ไม่แน่นอน
ประวัติ : เป็นบัวสายพันธุ์พื้นเมืองเขตเอเชียใต้ แถบอินเดีย
ใบรูปไข่ ขอบใบจักแหลมเป็นระเบียบ ปลายใบมน หูใบเปิด
ใบอ่อน : หน้าใบสีเขียว มีจุดแต้มสีน้ำตาลจางๆ หลังใบสีน้ำตาล มีเส้นนูน ชัดเจน
ใบแก่ : หน้าใบสีเขียว จุดแต้มสีน้ำตาลจางลง หลังใบสีน้ำตาล มีเส้นใบนูนชัดเจน
ก้านใบ : สีน้ำตาลแดง
ก้านดอก : สีน้ำตาลแดง
ดอกตูม : ทรงดอกเรียวยาว กลีบเลี้ยงสีเขียวขี้ม้า
ดอกบาน : ดอกบานแผ่เป็นรูปครึ่งวงกลม เส้นผ่านศูนย์กลางดอก 10-12 เซนติเมตร กลีบดอกซ้อน กลีบเลี้ยงด้านนอกสีเขียวขี้ม้า ด้านในสีเดียวกับกลีบดอกกลีบเลี้ยงโคนกว้างปลายเรียว กลีบดอกเรียวยาวสีชมพู เกสรเพศเมียสีเหลืองส้มก้านเกสรเพศผู้สีเหลืองส้ม อับเรณูสีเหลือง ดอกดก ทยอยออกตามกัน บาน 3 วัน เริ่มบานตอนกลางคืน
กลิ่น : หอมอ่อน ช่วงบาน : บานกลางคืน เวลาบาน : 18.00 น. – 10.00 น.
1. การปลูกในสระหรือบ่อ
2. การปลูกในกระถาง : ที่มีความกว้างไม่น้อยกว่า 1 เมตร
การพักตัวของบัว : ไม่พักตัว
ความกว้างของผิวน้ํา : ปานกลาง, กว้าง
ความลึกของน้ํา : ตื้น, ปานกลาง, ลึก
แสง : รับแดด
การขยายพันธุ์ : ต้นอ่อน, หัว, ไหล
โรค : – การป้องกันโรค : –
แมลง : เพลี้ยอ่อน หนอนพับใบ หอย ตกกระแตน
อาการ : เพลี้ยอ่อน จะดูดกินน้ําเลี้ยงที่บ้าน ใบ ก้านดอกจะเหี่ยวแห้ง หนอนพับใบและหอย จะกัดกินใบเสียหาย
กําจัด : ใช้สารเคมีผสมน้ําและ สารจับใบฉีดพ่นทุกเดือน
การนําไปใช้ประโยชน์ : ปลูกเป็นไม้ประดับ และเพื่อการตัดดอก